แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
แผนการตรวจสอบภายในเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของงานตรวจสอบภายใน ซึ่งจำแนกได้ ๒ ลักษณะ คือ
๑. งานบริการให้ความเชื่อมั่น (Assurance Services) เป็นการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ อย่างเที่ยงธรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งการประเมินอย่างอิสระ
ในกระบวนการกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
๑.๑ การตรวจสอบทางการเงิน (Financial Auditing)
การตรวจสอบความถูกต้อง ความครบถ้วน และความเชื่อถือได้ของข้อมูลการเงิน และรายงานการเงิน การตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี นโยบายการบัญชี กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ ประกาศที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการประเมินความเสี่ยง ระบบการควบคุมภายใน และความเป็นไปได้
ที่จะเกิดข้อผิดพลาดและการทุจริตด้านการเงินการบัญชี และเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูลตัวเลขต่าง ๆ ทางด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ
และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
๑.๒ การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Auditing)
การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ ประกาศ มติคณะรัฐมนตรี รวมถึงมาตรฐานแนวปฏิบัติ และนโยบายที่กำหนดไว้ เพื่อให้ทราบว่าการปฏิบัติงานทางด้านการเงิน การบัญชี และการพัสดุ เป็นไปตามนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ระบบวิธีการ คำสั่งมติคณะรัฐมนตรี
๑.๓ การตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Auditing)
การตรวจสอบความประหยัด ความมีประสิทธิผล ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่าของกิจกรรมที่ตรวจสอบ เพื่อสอบทานกระบวนการ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน มีระบบการควบคุมภายใน และประเมินประสิทธิภาพความเหมาะสมของระบบการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจว่ามีความเหมาะสม เพียงพอหรือไม่
๑.๔ การตรวจสอบอื่น ๆ การตรวจสอบที่นอกเหนือจาก ข้อ ๑.๑ - ๑.๓ เช่น การตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยประเมินความเสี่ยงและการควบคุมภายในด้านเทคโนโลยี และการตรวจพิเศษ (การตรวจสอบที่ได้รับมอบหมายเป็นกรณีพิเศษ) เพื่อสอบทานการบริหารงานด้านต่าง ๆ ว่าเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจขององค์กร รวมทั้งเป็นไปตามหลักการบริหารงาน และหลักการกำกับดูแลที่ดี
๒. งานบริการให้คำปรึกษา (Consulting Services) เป็นการให้คำแนะนำและบริการที่เกี่ยวข้องโดยลักษณะและขอบเขตของงานขึ้นอยู่กับการทำข้อตกลงของผู้รับบริการ มีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มคุณค่าให้กับส่วนราชการ โดยการปรับปรุงกระบวนการกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในของส่วนราชการให้ดีขึ้น